wat thung maan khruba si wichai era

16
เที่ยววิหารวัดทุงมาน ชมศิลปกรรมยุคครูบาฯ

Upload: -

Post on 23-Jul-2016

235 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

The architecture of Thai Temple in Lamphun Province. To present the art in Khruba Si Wichai era. He is a famous monk in Lanna (Northen Thailand).

TRANSCRIPT

Page 1: Wat thung maan khruba si wichai era

สุรางคนา พึ่งโพธิ์สภ

เที่ยววิหารวัดทุงมาน ชมศิลปกรรมยุคครูบาฯ

Page 2: Wat thung maan khruba si wichai era
Page 3: Wat thung maan khruba si wichai era

เที่ยววิหารวัดทุงมาน

ชมศลิปกรรมยคุครบูาฯ

Page 4: Wat thung maan khruba si wichai era

เที่ยววิหารวัดทุงมาน 2 ชมศิลปกรรมยุคครูบาฯ

Page 5: Wat thung maan khruba si wichai era

เที่ยววิหารวัดทุงมาน 3 ชมศิลปกรรมยุคครูบาฯเที่ยววิหารวัดทุงมาน 3 ชมศิลปกรรมยุคครูบาฯ

วัดทุงมาน

สรางขึ้นเม่ือ พ.ศ. 2369 ไดรับพระราชทาน

วิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2479 เปนวัดที่

เกาแกคูบานทุงมานมานานโดยประชาชนที่ชวยบํารุงวัดมีประมาณ

180 หลังคาเรือน เจาอาวาสองคปจจุบันของวัดทุงมานเลาวาวิหารวัด

ทุงมานไดสรางขึ้นประมาณชวงพุทธศตวรรษที่ 24 เปนตนมา แตเนื่องจาก

วิหารมีอายุมาเปนรอยกวาปจึงมีการบูรณะซอมแซมไปบางบางสวนแตก็ยังคง

รูปเอาไวในเรื่องของโครงสรางและศิลปกรรมบางสวนและมีการบันทึกขอมูล

คร้ังลาสุดวาวิหารไดมีการบูรณะคร้ังลาสุดเม่ือป พ.ศ. 2517 ซึ่งสวนที่มีการ

บูรณะคือสวนท่ีชํารุดและหลุดหายไป เชน การลงสีเหลืองใหมบริเวณเสา

กลมบรเิวณดานหนาและดานในวหิาร ซึง่เดมิคาดวาเปนการลงรกัปดทอง

เหมอืนวหิารอืน่ๆ แตเนือ่งจากทางวดัมงีบประมาณทีค่อนขางจาํกดัจงึ

ใชวัสดุท่ีมีราคาถูกลงแทน รวมไปถึงสวนที่เปนงานศิลปกรรม

หรือลวดลายตางๆ ก็ทาดวยสีเหลืองและการประดับ

กระเบื้องใหมที่บริเวณบันไดนาคแทน

วัดทุงมาน

Page 6: Wat thung maan khruba si wichai era

เที่ยววิหารวัดทุงมาน 4 ชมศิลปกรรมยุคครูบาฯ

วหิารวดัทุงมานตัง้อยูกลางบรเิวณของวัดเปนวหิารแบบปด มลีกัษณะแบบแปลนเปน

สี่เหลี่ยมผืนผา ทรงหลังคามีลักษณะเปนแบบสองคอสามชายหรือเปนทรงจั่วซอนชั้น ถือไดวา

เปนเอกลักษณอีกอยางหนึ่งของวิหารนี้ ตัวอาคารมีการกออิฐถือปูนพื้นยกสูงจากระดับพื้นดิน

ภายนอกขึน้มา โครงสรางภายในเปนระบบเสาและคานรบันํา้หนกักออฐิถอืปนู บรเิวณเสาดาน

นอกและดานในมกีารสลักลวดลายพุมขาวบณิฑและมีการคัน่ลายดวยการประดบักระจก เพยีง

แตเสาดานในไมมีการประดับกระจกคั่นลาย

ประตูทางเขาและหนาตางทุกบานมีการสลักดวยลวดลายตางๆ อยางสวยงาม ฝา

เพดานปดเฉพาะสวนหองทายที่มีแทนแกวประดิษฐานองคพระประธาน ซึ่งมีการประดับ

ตกแตงดวยลวดลายดาวเพดาน สวนเพดานดานหนาเปดใหเหน็โครงสรางหลงัคา ซ่ึงมลีกัษณะ

โครงสรางหลังคาแบบขื่อมาตางไหม คือระบบเสาและคานรับน้ําหนักแบบที่เห็นทั่วไปใน

ลานนาที่มีการทําโครงสรางดวยการเขาไม ใชกระเบื้องและดินขอเปนวัสดุในการมุงหลังคา

Page 7: Wat thung maan khruba si wichai era

เที่ยววิหารวัดทุงมาน 5 ชมศิลปกรรมยุคครูบาฯ

ปนลมและหางหงสเปนแผนไมแกะสลักท่ีวางตามแนว

ลาดเอียงของหลังคานิยมใชปดหัวแปมักแกะสลักไมทําเปนลาย

เกล็ดพญานาคและติดกระจกสี สวนหางหงสสลักเปนรูปเศียร

นาคใชเทคนิคเดียวกับปนลมเดิมในอดีตลานนานิยมทําเปนตัว

เหงาแตตอมาไดมีการบูรณะกันมาเรื่อยๆ จนทําใหกลายรูปแบบ

มาเปนเศยีรพญานาคแทนโดยใชวสัดคุอืไมเปนหลกัและตกแตงดวยกระจกส ีโดยลกัษณะงาน

ศิลปกรรมประเภทนี้มีความคลายคลึงกับวัดที่สําคัญของทางภาคเหนือ เชน วิหารวัดพระธาตุ

หริภุญไชยหรือวิหารลายคําวัดพระสิงหวรมหาวิหาร

ปนลมและหางหงส

Page 8: Wat thung maan khruba si wichai era

เที่ยววิหารวัดทุงมาน 6 ชมศิลปกรรมยุคครูบาฯ

คันทวยมีหนาที่สําหรับคํ้ายันเพื่อรองรับ

น้ําหนักของโครงสรางสวนชายคาและยังเพิ่ม

ความสวยงามใหแกวิหารอีกดวยซึ่งปกติแลว

ถาเปนวิหารแบบลานนาทั่วไปมีองคประกอบ

อยูสามสวนคือสวนบนมักทําเปนลายแถวหนา

กระดานสวนกลางเปนบริเวณที่ตกแตงดวยลาย

มากที่สุด โดยแตละที่ก็มีความนิยมแตกตางกัน

ไปและสวนลางจะเปนสวนทีเ่ลก็และอยูในรปูทรง

สามเหลีย่ม คนัทวยทีว่หิารวดัทุงมานจะสลักเปน

ลวดลายพญานาคเชนเดียวกับวัดอีกหลายที่ใน

ภาคเหนือ แตลักษณะการทําคันทวยประเภทนี้

จะไมนิยมในทางภาคเหนือสวนใหญแตมักจะพบในภาคกลางเปนรูปแบบเดียวกันคือไมนิยม

สลกัสวนบนแตจะทาํเฉพาะสวนกลางและสวนลาง ซ่ึงพบไดต้ังแตชวงสมยัแรกของรตันโกสนิทร

เชน คนัทวย พระอโุบสถวดัสวุรรณาราม กรงุเทพฯ การรบัรปูแบบรตันโกสนิทรเขามาใชโดยชวง

ในชวงพุทธศตวรรษที่ 24 จึงทําใหคันทวยมีลักษณะที่ตางไปจากแบบลานนา ซึ่งมีการลดทอน

บางสวนออกจึงทําใหดูมีขนาดเล็กจนดูเหมือนงานประดับตกแตงมากกวาการรองรับนํ้าหนัก

คันทวย

Page 9: Wat thung maan khruba si wichai era

เที่ยววิหารวัดทุงมาน 7 ชมศิลปกรรมยุคครูบาฯ

มีการสลักไมเปนลวดลายพรรณพฤกษาที่บานประตู ซึ่งจะปรากฏในรูปแบบของลาย

เครือเถากานขดที่มีลักษณะคลายเถาวัลยของพืชท่ีมวนกลม ในขณะเดียวกันก็มีใบแตกแซม

ออกมาจากกานเครือเถาและมีกานที่แตกมวนในลักษณะเดียวกันอีก โดยมีการเชื่อมลายดวย

กานสลกัดอกไมคอืดอกตาสบัปะรด มลีกัษณะของลวดลายคลายผลสบัปะรดและมกีลบีดอกไม

ขอบหยักปลายมนประกบตัวผลทั้งสองขางรองรับดวยกลีบดอกขนาดเล็ก 2 กลีบรองรับใต

ดอกอยูใบไมที่แตกออกมาจะมีลักษณะเปนใบเทศ มีการใชเทคนิคการลงรักปดบนลวดลาย

ดวยลวดลายแบบนี้มีความคลายคลึงกับศิลปะแบบรัตนโกสินทร ซึ่งลวดลายแบบนี้มักพบท่ี

หนาบันเปนที่นิยมสรางกันมาตั้งแตปลายพุทธศตวรรษที่ 23 เปนตนมา ทั้งน้ีก็แสดงใหเห็น

การผสมผสานระหวางลวดลายแบบลานนากับการ

ผูกลายแบบภาคกลาง ในลําพูนเองก็พบลักษณะของ

ลวดลายประเภทนีเ้ชนกนั ซึง่เริม่นยิมสรางตัง้แตสมยั

ครูบาศรีวิชัยและสงอิทธิพลตองานศิลปกรรมอื่นๆ

บานประตูทางเขาวิหาร บานประตูทางเขาวิหาร

Page 10: Wat thung maan khruba si wichai era

เที่ยววิหารวัดทุงมาน 8 ชมศิลปกรรมยุคครูบาฯ

ลวดลายที่สลักบนบานไมของหนาตางสวนใหญเปนลวดลายพรรณพฤกษาอยูเต็ม

กรอบ เปนลายใบเทศกานขดเชื่อมลายดวยดอกสับปะรดดูคลายกับลักษณะของประตูทางเขา

วิหาร ซ่ึงก็เปนลวดลายท่ีมีอิทธิพลในลานนามากชวงพุทธศตวรรษที่ 24–25 เปนอิทธิพลของ

ศิลปะรัตนโกสินทร หรืออิทธิพลการสรางวัดตามกระบวนการครูบาฯ ทานเอง รวมทั้งมีการ

สลักลายกนกเช่ือมลายดวยนกคาบตอจากใบเทศและชวงลางจะปรากฏรูปมาขึ้นเปนคูหันหนา

เขาหากัน อาจจะเปนคติความเชื่อของการสลักภาพสัตวตามคติแบบอินเดียวาดวยการสรางรูป

สัตวประจําทิศตางๆ ที่เผยแพรเขามายังไทยก็เปนได

บานหนาตาง

Page 11: Wat thung maan khruba si wichai era

เที่ยววิหารวัดทุงมาน 9 ชมศิลปกรรมยุคครูบาฯ

ลักษณะเปนชอฟาปากปลาหรือปากหงส

เทคนิคเปนงานปูนปนประดับกระจก เดิม

แลวชอฟาลานนามกัทาํจากไมและมกีารแกะ

สลัก โดยสลักขึ้นจากไมทอนเดียวใหเปนเสน

มีลักษณะเรียบงายเปนแทงปลายเรียว โดย

สวนปลายที่โคงตอมาดานหนาและปลาย

เรียวแหลมจะมีการตกแตงดวยลายพรรณ

พฤกษา (แบบแกวอังวะ) แตเนื่องจากมีการ

บูรณะงานสถาปตยกรรมอยูเรื่อยๆ จึงทําให

ชางตองเปลี่ยนมาใชเทคนิคปูนปนแทน รวม

ถึงลานนายุคหลังก็ไดรับคติครุฑยุคนาคของทางภาคกลางเขามา และนิยมสรางเปนรูปหงส

พญานาค และนกหัสดีลิงค ตัวอยางเชน ชอฟาอุโบสถ วัดพระแกว กรุงเทพฯ

ดังนั้นทําใหวิเคราะหไดวาชอฟาของวิหารวัดทุงมานมีการรับรูปแบบของศิลปะ

แบบภาคกลางเขามา หรือชวงท่ีมีอิทธิพลมากท่ีสุดในงานสถาปตยกรรมของลําพูนก็คือสมัย

รัตนโกสินทร

ชอฟา

Page 12: Wat thung maan khruba si wichai era

เที่ยววิหารวัดทุงมาน 10 ชมศิลปกรรมยุคครูบาฯ

มีการสรางซุมเปนทรงบุษบกหรือทรง

ปราสาทที่ลักมีษณะสําคัญคือ สวนฐานมีฐาน

สิงหรองรับชองประตูมีเสากรอบประดับกาบ

พรหมศร บัวหัวเสา สวนซุมเปนทรงปราสาท

ยอด ซ่ึงจําลองมาจากปราสาทที่ทําเปนเรือน

ยอด แนวคดิในการสรางซุมประตูและหนาตาง

ที่มีเสารองรับสวนหลังคาที่เปนยอดปราสาท

น้ีถือวาประตูหรือหนาตางเปนสัญลักษณของ

ความเปนปราสาท ใชในความหมายเสมอืนวา

พระพุทธเจาประทับอยูภายในปราสาท กลาว

คือเวลามองจากภายนอกผานชองประตูหรือ

หนาตางเขาไป มักตรงกับที่พระพุทธเจาประทับนั่งภายในปราสาทอยางแทจริง เชนเดียวกับ

ซุมที่วิหารวัดทุงมานเมื่อเทียบกับวัดที่มีลักษณะคลายกันแลว สวนใหญเปนวัดที่อยูในสมัย

รัตนโกสินทรทั้งสิ้น เชน ซุมประตูทรงปราสาทยอด พระอุโบสถวัดสุวรรณารามและซุมประตู

ทรงปราสาทยอดวดัราชบพติร เปนตน ถอืไดวาเปนรปูแบบของศิลปะตัง้แตอยธุยาตอนปลาย

ที่สงตอไปยังสมัยรัตนโกสินทรและเม่ือมีการติดตอกับลานนา ตั้งแตยุคตนจวบจนรวมเปน

ประเทศสยามแลว ทําใหมีอิทธิพลของศิลปะแพรกระจายเขามายังลานนานั่นเอง

ซุมประตูทางเขาวิหาร

Page 13: Wat thung maan khruba si wichai era

เที่ยววิหารวัดทุงมาน 11 ชมศิลปกรรมยุคครูบาฯ

หนาบันวิหารวัดทุงมานมีการสลักลวดลายกระหนกกานขดลอกันเปนวงๆ เชื่อม

ลายดวย กาบลาย และมีลวดลายลักษณะทรงพุมขาวบิณฑเปนตัวออกลาย หากถาเปน

หนาบนัแบบลานนาดัง่เดมิ มกันยิมทาํเปนโครงสรางมาตางไหมและมกีารสลกัดวยกลวดลาย

พรรณพฤกษา โดยไมมีการใชเทคนิคลงรักปดทองอยางเชนปจจุบัน ในสวนของลวดลาย

หนาบนัวหิารวดัทุงมานทีเ่ราเหน็นีเ้ชนนี ้กม็กีารรบัอทิธพิลของศลิปะภาคกลางเขามาซึง่พบวา

เปนชวงพุทธศตวรรษท่ี 24 นบัวาเปนชวงทีล่านนามกีารรบัอทิธพิลจากภาคกลางมาหลาย พ.ศ.

แลว ทําใหสงผลตอการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของลวดลายและเทคนิคในการสรางศิลปกรรม

ประกอบงานสถาปตยกรรม

หนาบัน

Page 14: Wat thung maan khruba si wichai era

เที่ยววิหารวัดทุงมาน 12 ชมศิลปกรรมยุคครูบาฯ

Page 15: Wat thung maan khruba si wichai era

เที่ยววิหารวัดทุงมาน ชมศิลปกรรมยุคครูบาฯ© 2015 (พ.ศ. 2558) โดย สุรางคนา พึ่งโพธิ์สภ

สงวนลิขสิทธิ์

พิมพครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2558จัดพิมพโดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม

เรียบเรียงและออกแบบโดย สุรางคนา พึ่งโพธิ์สภออกแบบโดยใชฟอนท TH SarabunPSK 14 pt.

หนังสือเลมนี้เปนสวนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อสงเสริม และตอยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม

Page 16: Wat thung maan khruba si wichai era